TOEFL

คอร์สติว TOEFL-MUIC จะเน้นสอนให้ตรงกับข้อสอบ TOEFL-MUIC (ITP TOEFL) เพื่อให้น้องที่ตั้งใจจะเข้าเรียนต่อที่ม.มหิดลอินเตอร์ สามารถทำข้อสอบได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง TOEFL-MUIC ครบทุกด้านจบผ่านที่นี่ เเบบ LearnSpace เเละ On-site

เรียน TOEFL แบบไหน?

4 รูปแบบการเรียนรู้

Private Classes

จัดตารางเรียนสด สุดexclusive ที่สถาบันและชวนเพื่อนที่ชอบมาเรียนด้วยกันได้

 

Group Classes

เรียนสดเป็นกลุ่มที่นัดหมาย กับเพื่อนสนิทพร้อมกับได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆในเวลาเดียวกัน

Live Online Classes

จัดตารางเรียนสด LearnSpace สุด private จากที่ไหนก็ได้บนโลกที่มี internet

Learnchat Classes

เรียนกับระบบ LearnChat + ผ่าน Smart phone,

Tablet หรือ

คอมพิวเตอร์ จาก

ที่ไหนก็ได้บนโลก

TOEFL เนื้อหารายวิชา


การสอบ TOEFL หรือ Test of English as a Foreign Language เป็นการสอบเพื่อวัดระดับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติเพื่อศึกษาต่อในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสอน รวมถึงหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย

ข้อสอบ TOEFL ในปัจจุบันเป็นการสอบผ่านระบบ Internet หรือที่เรียกว่า TOEFL iBT (TOEFL-Internet Based Test) การวัดและประเมินผล TOEFL เป็นการวัดทักษะการสื่อสารทั้ง 4 ด้านคือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

ในบางครั้งอาจมีการสับสนระหว่างชื่อข้อสอบ TOEFL และ TOEIC แต่โดยทั่วไปแล้ว TOEFL เป็นการสอบวัดผลการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ ในขณะที่ TOEIC วัดผลการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานในอาชีพที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศบ่อยครั้ง เช่น พนักงานต้อนรับของสายการบิน

ชื่อต่างๆของข้อสอบ TOEFL

การสอบ TOEFL มีอยู่หลากหลายประเภท และดูเหมือนจะมีชื่อหรือรหัสห้อยท้ายคำว่า TOEFL มากมาย เช่น TOEFL iBT, TOEFL PBT, TOEFL ITP เป็นต้น เรามาดูกันว่ารหัสแต่ละอย่างมีความหมายอย่างไรกันบ้าง

TOEFL PBT
PBT ย่อมากจาก Paper-Based Testing หรือแปลตรงตัวก็คือการสอบแบบทำข้อสอบกับกระดาษซึ่งเป็นการสอบ TOEFL แบบดั้งเดิมตั้งแต่ปี 1964 จนถึงปี 2000 ที่มีการสอบแบบ CBT (Computer-Based Testing) มาทดแทน อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมาก็ได้มีการเปิดสอบ TOEFL PBT อีกครั้งจนถึงปัจจุบันในพื้นที่ที่ไม่สะดวกจะทำการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ การสอบแบบ PBT ประกอบไปด้วย Listening, Structure, Listening โดยมีคะแนนตั้งแต่ 310-677 คะแนน ส่วนการสอบ Writing (รู้จักกันในชื่อ TWE) สามารถเลือกที่จะสอบหรือไม่ก็ได้ การคิดคะแนนในส่วนนี้จะแยกออกไปต่างหากจากส่วนอื่นๆ โดยมีคะแนนตั้งแต่ 0-6 คะแนน

TOEFL CBT
CBT ย่อมากจาก Computer-Based Testing หรือแปลตรงตัวก็คือการสอบแบบทำข้อสอบกับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการสอบ TOEFLตั้งแต่ช่วงปี 2000 จนถึงปี 2005 เนื้อหาในการสอบยังคงเหมือนกับ TOEFL PBT แต่ต่างกันตรงที่ผู้สอบทุกคนจะต้องสอบ Writing (การสอบแบบ PBT สามารถเลือกที่จะไม่สอบได้) ช่วงคะแนนอยู่ที่ 0-300

TOEFL iBT
iBT ย่อมากจาก internet-Based Testing เป็นการสอบ TOEFLตั้งแต่ช่วงปี 2005 จนถึงปัจจุบัน เนื้อหาในการสอบมี 4 ส่วนคือ Reading, Listening, Speaking, Writing แถมยังมีข้อสอบในบางข้อที่เป็น Integrated Task คือต้องใช้ทักษะหลายอย่างในคำถามเดียว เช่น มีคำถามให้อ่านแต่ต้องตอบด้วยการพูด ช่วงคะแนนอยู่ที่ 0-120 (แต่หลายๆคนยังนิยมแปลงคะแนนเป็นระบบ PBT เนื่องจากเป็นระบบที่ใช้กันมานานหลายสิบปีจนคุ้นเคย เช่น อยากสอบให้ได้ 550 ซึ่งจะเท่ากับการสอบให้ได้ 79 ในระบบ iBT)

TOEFL ITP
ITP ย่อมากจาก Institutional Testing Program นี่คือข้อสอบ TOEFL ที่องค์กรต่างๆซื้อมาจาก ETS หรือองค์กรจัดสอบ TOEFL (ซึ่งเอาเข้าจริงๆแล้วก็คือข้อสอบ TOEFL PBT นั่นเอง ดังนั้นเนื้อหาจะประกอบไปด้วย Listening, Structure, Listening และอาจมีข้อสอบ Writing หรือ TWE เพิ่มด้วย) เพื่อใช้ในการทดสอบ เช่น MUIC หรือวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดสอบ TOEFL ITP เพื่อใช้คัดผู้สอบที่มีความสามารถพอเข้าเรียนต่อนั่นเอง หลายๆคนนิยมเรียกว่า TOEFL MUIC แต่จริงๆแล้วมันคือ TOEFL ITP ที่ MUIC ซื้อข้อสอบมา ข้อสอบชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนักเนื่องจากคะแนนที่ได้สามารถนำไปยื่นสมัครกับสถาบันที่จัดสอบเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ที่อื่นได้ เช่น สอบ TOEFL ITP ที่ MUIC จะไม่สามารถนำผลคะแนนไปยื่นสมัครที่จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ หรือที่อื่นๆได้ แต่หากสอบ TOEFL iBT จะสามารถนำผลไปยื่นสมัครในทุกที่ที่กล่าวมาได้

  Section Description Testing Time Questions Score Scale
 Reading  3-5 passages from academic texts; 
 approximately 700 words long; 
 12-14 questions per passage.
60-100 minutes 36-70 questions 0-30
 Listening  4-6 lectures, some with classroom 
 discussion; each 3-5 minutes long; 
 6 questions each. 2-3 conversations; 
 each 3 minutes long; 5 questions each.
60-90 minutes 34-51 questions 0-30
 Break                              – 10 minutes              –             –
 Speaking  2 tasks to express an opinion on a  familiar topic; 
 4 tasks to speak based on what is 
 read and listened to.
20 minutes 6 tasks 0-4 points converted to 
0-30 score scale
 Writing  1 task to write based on what is read  and listened to;
 1 task to support an opinion on a 
 topic.
50 minutes 2 tasks 0-5 points converted to 
0-30 score scale
 Total  score                              –             –               – 0-120

Reading 
ข้อสอบประกอบไปด้วย 3-5 Passage เนื้อหาประกอบไปด้วยวิชาทั่วไปที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย โดยผู้สอบจะต้องเข้าใจเนื้อหาโดยรวมและตอบคำถามในหลายๆรูปแบบ เช่น การจับใจความ (Main idea) หรือคาดเดาความรู้สึกของผู้เขียน ตลอดจนการเติมคำและหาข้อสรุปจากเนื้อหาที่ให้มา

Listening
ข้อสอบจะประกอบไปด้วย 6 Passage โดยแต่ละ Passage มีความยาวประมาณ 3-5 นาที ซึ่ง 2 Passage แรกจะเป็นบทสนทนาระหว่างนักเรียนโดยมี 5 คำถามต่อ Passage ในขณะที่ 4 Passage ที่เหลือจะเป็นการฟังการบรรยาย (Lecture) หรือการโต้เถียง (Discussion)
โดยมี 6 คำถามต่อ Passage ผู้สอบจะมีโอกาสฟังเพียงครั้งเดียวเท่านั้นโดยสามารถจดข้อความระหว่างการฟังได้ ลักษณะของคำถามนั้นจะถามตั้งแต่รายละเอียดปลีกย่อยของบทสนทนา ใจความของบทสนทนา ไปจนถึงทัศนคติและวัตถุประสงค์ของผู้พูดแต่ละคน

Speaking
ผู้สอบจะต้องแสดงความสามารถในการพูดทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกเป็นการตอบคำถามทั่วไป ส่วน 4 ครั้งหลังนั้นเรียกว่าเป็น Integrated Task ซึ่งผู้สอบจะต้องฟังการบรรยายหรือบทสนทนาและ/หรืออ่าน Passage สั้นๆก่อนที่จะพูดเพื่อตอบคำถาม การประเมินผลในส่วนนี้ไม่ได้วัดว่าผู้สอบจะพูดชัดและมีสำเนียงที่เพราะ แต่ต้องการวัดว่าผู้สอบสามารถนำสิ่งที่อ่านและได้ยินมาถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจด้วยการพูดได้ดีหรือไม่

Writing
การทดสอบ Writing นั้นมีอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกเป็นการเขียน Essay ทั่วๆไป ข้ออีกข้อหนึ่งเป็น Integrated Task ซึ่งผู้สอบต้องอ่านและฟังการบรรยายในหัวข้อเดียวกันเพื่อนำมาพูดถึงความสัมพันธ์ของใจความระหว่างสิ่งที่ได้อ่านและได้ฟัง