เทียบวุฒิการศึกษาด้วย
TCAS
การสอบ GED คืออะไร ใช้เข้ามหาวิทยาลัยใน TCAS ได้หรือไม่?
สวัสดีค่ะน้องๆ ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทุกคนจะต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในการยื่นสมัคร โดยในปัจจุบันนอกจากวุฒิการศึกษาแบบสายสามัญปกติที่จะใช้ได้แล้ว ยังมีวุฒิการศึกษาแบบเทียบเท่าหลายตัว ทั้งของในประเทศไทยเอง อย่าง ปวช. ปวส. กศน. หรือของต่างประเทศ เช่น GED, IGCSE, A-Level, IB, AP, NCEA เป็นต้น โดยหนึ่งในวุฒิฯ แบบเทียบเท่าที่มีน้องๆ สอบถามกันเข้ามาเยอะ ก็คือ GED วันนี้พี่แนนนี่เลยจะพาน้องๆ ไปทำความรู้จัก และการใช้วุฒิ GED ในประเทศไทยกันค่ะ
ทำความรู้จัก การสอบ GED
GED : General Educational Development คือ หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นถ้าให้พูดถึงการสอบ GED ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การสอบเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปลาย (High School) หรือสอบเทียบวุฒิม.6 นั่นเอง โดยสามารถนำผลคะแนนไปใช้ยื่นสมัครเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศได้ รวมไปถึงยังสามารถใช้ยื่นสมัครงานได้อีกด้วย
วิชาและเนื้อหาที่ต้องสอบ
การสอบ GED จะแบ่งออกเป็น 4 วิชา ได้แก่ Mathematical Reasoning, Social Studies, Science และ Reasoning Through Language Arts โดยแต่ละวิชามีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้
Mathematical Reasoning
เวลาทำข้อสอบ : 115 นาที (รวมเวลาพักระหว่างพาร์ท)
ลักษณะข้อสอบ : แบ่งเป็น 2 พาร์ท (พาร์ทที่ 2 มี E-Calculator ให้) มีทั้งเป็นแบบเลือกตอบ และแบบอื่นๆ เช่น ลากคำตอบ, ตอบลงในช่องว่าง
เนื้อหาการสอบ
– Basic Math
– Geometry
– Basic Algebra
– Graphs and Functions
Social Studies
เวลาทำข้อสอบ : 70 นาที
ลักษณะข้อสอบ : มีทั้งเป็นแบบเลือกตอบ และแบบอื่นๆ เช่น ลากคำตอบ, ตอบลงในช่องว่าง
เนื้อหาการสอบ
– Reading for Meaning in Social Studies
– Analyzing Historical Events and Arguments in Social Studies
– Using Numbers and Graphs in Social Studies
Science
เวลาทำข้อสอบ : 90 นาที
ลักษณะข้อสอบ : มี E-Calculator ให้, มีทั้งเป็นแบบเลือกตอบ และแบบอื่นๆ เช่น ลากคำตอบ, ตอบลงในช่องว่าง
เนื้อหาการสอบ
– Reading for Meaning in Science
– Designing and Interpreting Science Experiments
– Using Numbers and Graphics in Science
Reasoning Through Language Arts (RLA)
เวลาทำข้อสอบ : 150 นาที (รวมเวลาพักระหว่างพาร์ท)
วิธีการสมัครสอบ
คุณสมบัติผู้สมัคร
– ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
– ผ่านการทำแบบทดสอบ GED Ready วิชาละ 155 ขึ้นไป
– สำหรับผู้ที่อายุระหว่าง 16 – 17 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง
– ผู้ปกครอง และผู้สมัครจะต้องกรอกหนังสือยินยอมตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ (แบบฟอร์ม:คลิก) และส่งไฟล์ไปที่อีเมล help@ged.com ก่อน จึงจะสามารถสมัครสอบได้ (รอการตอบรับ 4 – 5 วันทำการ)
ขั้นตอนการสมัครสอบ
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.ged.com และเลือก “SIGN UP” เพื่อสร้าง account
2. ระบบจะให้ใส่ E-mail และรหัสผ่าน
*รหัสผ่าน: จะต้องไม่น้อยกว่า 8 ตัว ประกอบด้วยตัวอักษร และตัวเลข/สัญลักษณ์ อย่างน้อย 1 ตัว
3. จากนั้นระบบจะให้กรอก ชื่อ-นามสกุล-วันเดือนปีเกิด โดยข้อมูลจะต้องตรงกับ passport
4. กรอกรายละเอียดที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ตามขั้นตอน ก่อนระบบจะให้เลือกสถานที่สอบ
ค่าใช้จ่ายในการสอบ
– วิชาละ 75 USD หรือประมาณ 2,300 บาท
– ต้อง 4 วิชา เท่ากับ 300 USD หรือประมาณ 9,400 บาท
– ชำระค่าสมัครสอบผ่านบัตรเครดิต
การเข้าสอบ
– สอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ณ ศูนย์สอบ
– เลือกสอบทีละรายวิชาตามความพร้อม หรือจะสอบทุกวิชาพร้อมกันเลยก็ได้
– ตารางสอบมีตลอดทั้งปี
– สำหรับวันสอบจะใช้ passport เป็นหลักฐานในการเข้าสอบ
– ควรไปถึงสนามสอบก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 30 นาที
ผลการสอบ
– คะแนนสอบ หรือวุฒิ GED จะไม่มีวันหมดอายุ
– ปัจจุบันทาง GED ไม่มีการส่งประกาศนียบัตรและผลคะแนนสอบเป็นเอกสารให้แล้ว จะมีเป็น E-Diploma และ E-Transcript เท่านั้น
– ถ้าต้องการประกาศนียบัตรและผลคะแนนสอบ (เป็นเอกสาร) จะต้องยื่นคำร้องขอเอกสาร โดยจะมีค่าใช้จ่าย
– Transcript : ผลคะแนนสอบ 15 USD + ค่าส่ง Fedex 47.50 USD
– ประกาศนียบัตร : ฟรี + ค่าส่ง Fedex 47.50 USD
– รวมประมาณ 110 USD
การขอสอบใหม่
เกณฑ์คะแนนการสอบ GED แต่ละวิชาต้องได้ 145 คะแนน (เต็ม 200 คะแนน) ถึงจะผ่านเกณฑ์ ซึ่งถ้าจะขอสอบใหม่ แบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ได้คะแนนไม่ถึง 145 คะแนน
– สามารถลงทะเบียนสอบใหม่ได้เลย ถ้าเป็นการสอบครั้งที่ 2 หรือ 3 ในแต่ละวิชา
– แต่ถ้าเป็นการขอสอบครั้งที่ 4 จะต้องเว้นระยะไม่น้อยกว่า 60 วัน
– ค่าสอบวิชาละ 75 USD
กรณีที่ได้คะแนน 145 คะแนนขึ้นไปแล้วแต่ต้องการสอบใหม่
หากต้องการสอบเพื่อให้ได้คะแนนมากกว่าเดิม จะต้องยื่นคำร้องผ่านทางอีเมลก่อน โดยใส่รายละเอียดชื่อ-นามสกุล-วันเดือนปีเกิด, อีเมลและเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้สมัคร, วิชาที่ต้องการสอบใหม่ พร้อมเหตุผล และวันที่ต้องการจะสอบใหม่ ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการทั้งหมด 1 – 2 สัปดาห์ ทั้งนี้การขอสอบใหม่นี้ จะทำได้แค่ทีละวิชาเท่านั้น โดยยื่นคำขอไปที่ help@ged.com หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BBA)
– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (BBTech)
– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (BSAC)
– คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE)
– คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (COMMDE)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA)
– คณะอักษรศาสตร์ (BALAC)
– สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ (BAScii)
แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดทุกวิชาคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 660 คะแนน ยกเว้นคณะเศรษฐศาสตร์กำหนดไว้ 700 คะแนน โดยสามารถขอเทียบคะแนนได้ที่นี่ https://hsces.atc.chula.ac.th/
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BBA)
– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (BBTech)
– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (BSAC)
– คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE)
– คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (COMMDE)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA)
– คณะอักษรศาสตร์ (BALAC)
– สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ (BAScii)
แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดทุกวิชาคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 660 คะแนน ยกเว้นคณะเศรษฐศาสตร์กำหนดไว้ 700 คะแนน โดยสามารถขอเทียบคะแนนได้ที่นี่ https://hsces.atc.chula.ac.th/
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC)
– คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ (LL.B.)
– คณะพยาบาลศาสตร์ (BNS)
– คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BBA)
– คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อมวลชนศึกษา (B.J.M.)
– สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ (SIIT)
– คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP, TEPE-Auto)
-คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาวิเทศคดีศึกษา อาเซียน-จีน (IAC)
-คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม (GSSE)
– วิทยาลัยนวัตกรรม สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ (BSI)
– คณะเศรษฐศาสตร์ (BE)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง (UDDI)
– คณะสังคมสงเคราะห์ สาขาวิชานโยบายสังคมและการพัฒนา (SPD)
– วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (PBIC)
แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดคะแนนแต่ละวิชาละไม่น้อยกว่า 165 คะแนน และสาขาวิชาดังต่อไปนี้จะต้องมีคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 600 คะแนน
– คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ (BIR)
– คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (BEC)
– คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (BAS)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี (DBTM)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด
– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ (B.A.-Integrated Tourism Management)
– คณะวิทยาศาสตร์
– คณะวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน (B.S.)
– คณะวิศวกรรมศาสตร์ (IUP)
– คณะเศรษฐศาสตร์ (B.A. & B.Econ)
– คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร
แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดคะแนนแต่ละวิชาละไม่น้อยกว่า 165 คะแนน
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
– คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
– คณะการจัดการ สาขาการจัดการบริการนานาชาติ (BM)
– คณะศิลปศาสตร์ (BA)
– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศ (BFA)
– คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร (B.Com.Arts.)
– คณะวิทยาศาสตร์ (B.Sc.)
แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดคะแนนรวม 4 วิชาไม่น้อยกว่า 600 คะแนน
การเทียบวุฒิ GED ในระบบ TCAS65
ทางทปอ. ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับปีการศึกษา 2565 ไว้ ซึ่งรายละเอียดการเทียบวุฒิ GED มีดังนี้
ผลสอบ GED (ก่อนเดือนพ.ค. 2560)
– 5 รายวิชา มีคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 2,250 คะแนน แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 410 คะแนน
ผลสอบ GED (เดือนพ.ค. 2560 เป็นต้นไป)
– 4 รายวิชา มีคะแนนแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน
สำหรับการยื่นสมัคร กสพท
– กสพท จะใช้วุฒิ GED สำหรับการเทียบคะแนน O-NET ของผู้ที่จบจากต่างประเทศ และไม่มีสิทธิสอบ O-NET โดยจะมีการพิจารณาการสมัครสอบเป็นกรณีๆ ไป
– แต่จะไม่อนุญาตให้ใช้วุฒิ GED สำหรับน้องๆ ที่เรียนอยู่ในหลักสูตรของประเทศไทย และยังไม่จบม.ปลายตามหลักสูตร
การยอมรับวุฒิ GED ในประเทศไทย
ปัจจุบันสามารถเทียบวุฒิ GED เพื่อสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดคะแนนขั้นต่ำในการยื่นแตกต่างกันออกไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การยอมรับวุฒิ GED ในต่างประเทศ
ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัย ในหลายประเทศที่เปิดรับสมัครนักเรียนนักศึกษาด้วยวุฒิ GED โดยสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา ก็มีมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยกว่า 97% ที่เปิดรับ รวมไปถึงประเทศอื่นๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, ไต้หวัน, เกาหลี, มาเลเซีย, เนปาล, บังกลาเทศ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ