เทียบวุฒิการศึกษาด้วย

TCAS

การสอบ GED คืออะไร ใช้เข้ามหาวิทยาลัยใน TCAS ได้หรือไม่?

สวัสดีค่ะน้องๆ ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทุกคนจะต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในการยื่นสมัคร โดยในปัจจุบันนอกจากวุฒิการศึกษาแบบสายสามัญปกติที่จะใช้ได้แล้ว ยังมีวุฒิการศึกษาแบบเทียบเท่าหลายตัว ทั้งของในประเทศไทยเอง อย่าง ปวช. ปวส. กศน. หรือของต่างประเทศ เช่น GED, IGCSE, A-Level, IB, AP, NCEA เป็นต้น โดยหนึ่งในวุฒิฯ แบบเทียบเท่าที่มีน้องๆ สอบถามกันเข้ามาเยอะ ก็คือ GED วันนี้พี่แนนนี่เลยจะพาน้องๆ ไปทำความรู้จัก และการใช้วุฒิ GED ในประเทศไทยกันค่ะ

ทำความรู้จัก การสอบ GED

GED : General Educational Development คือ หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นถ้าให้พูดถึงการสอบ GED ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การสอบเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปลาย (High School) หรือสอบเทียบวุฒิม.6 นั่นเอง โดยสามารถนำผลคะแนนไปใช้ยื่นสมัครเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศได้ รวมไปถึงยังสามารถใช้ยื่นสมัครงานได้อีกด้วย

วิชาและเนื้อหาที่ต้องสอบ

การสอบ GED จะแบ่งออกเป็น 4 วิชา ได้แก่ Mathematical Reasoning, Social Studies, Science และ Reasoning Through Language Arts โดยแต่ละวิชามีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้

Mathematical Reasoning
เวลาทำข้อสอบ : 115 นาที (รวมเวลาพักระหว่างพาร์ท)
ลักษณะข้อสอบ : แบ่งเป็น 2 พาร์ท (พาร์ทที่ 2 มี E-Calculator ให้) มีทั้งเป็นแบบเลือกตอบ และแบบอื่นๆ เช่น ลากคำตอบ, ตอบลงในช่องว่าง

เนื้อหาการสอบ
– Basic Math
– Geometry
– Basic Algebra
– Graphs and Functions

Social Studies
เวลาทำข้อสอบ : 70 นาที
ลักษณะข้อสอบ : มีทั้งเป็นแบบเลือกตอบ และแบบอื่นๆ เช่น ลากคำตอบ, ตอบลงในช่องว่าง

เนื้อหาการสอบ
– Reading for Meaning in Social Studies
– Analyzing Historical Events and Arguments in Social Studies
– Using Numbers and Graphs in Social Studies

Science
เวลาทำข้อสอบ : 90 นาที
ลักษณะข้อสอบ : มี E-Calculator ให้, มีทั้งเป็นแบบเลือกตอบ และแบบอื่นๆ เช่น ลากคำตอบ, ตอบลงในช่องว่าง

เนื้อหาการสอบ
– Reading for Meaning in Science
– Designing and Interpreting Science Experiments
– Using Numbers and Graphics in Science

Reasoning Through Language Arts (RLA)
เวลาทำข้อสอบ : 150 นาที (รวมเวลาพักระหว่างพาร์ท)

วิธีการสมัครสอบ

คุณสมบัติผู้สมัคร
– ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
– ผ่านการทำแบบทดสอบ GED Ready วิชาละ 155 ขึ้นไป
– สำหรับผู้ที่อายุระหว่าง 16 – 17 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง
– ผู้ปกครอง และผู้สมัครจะต้องกรอกหนังสือยินยอมตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ (แบบฟอร์ม:คลิก) และส่งไฟล์ไปที่อีเมล help@ged.com ก่อน จึงจะสามารถสมัครสอบได้ (รอการตอบรับ 4 – 5 วันทำการ)

ขั้นตอนการสมัครสอบ
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.ged.com และเลือก “SIGN UP” เพื่อสร้าง account
2. ระบบจะให้ใส่ E-mail และรหัสผ่าน
*รหัสผ่าน: จะต้องไม่น้อยกว่า 8 ตัว ประกอบด้วยตัวอักษร และตัวเลข/สัญลักษณ์ อย่างน้อย 1 ตัว
3. จากนั้นระบบจะให้กรอก ชื่อ-นามสกุล-วันเดือนปีเกิด โดยข้อมูลจะต้องตรงกับ passport
4. กรอกรายละเอียดที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ตามขั้นตอน ก่อนระบบจะให้เลือกสถานที่สอบ

ค่าใช้จ่ายในการสอบ

– วิชาละ 75 USD หรือประมาณ 2,300 บาท
– ต้อง 4 วิชา เท่ากับ  300 USD  หรือประมาณ 9,400 บาท
– ชำระค่าสมัครสอบผ่านบัตรเครดิต

การเข้าสอบ

– สอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ณ ศูนย์สอบ
– เลือกสอบทีละรายวิชาตามความพร้อม หรือจะสอบทุกวิชาพร้อมกันเลยก็ได้
– ตารางสอบมีตลอดทั้งปี
– สำหรับวันสอบจะใช้ passport เป็นหลักฐานในการเข้าสอบ
– ควรไปถึงสนามสอบก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 30  นาที

ผลการสอบ

– คะแนนสอบ หรือวุฒิ GED จะไม่มีวันหมดอายุ
– ปัจจุบันทาง GED ไม่มีการส่งประกาศนียบัตรและผลคะแนนสอบเป็นเอกสารให้แล้ว จะมีเป็น E-Diploma และ E-Transcript เท่านั้น
– ถ้าต้องการประกาศนียบัตรและผลคะแนนสอบ (เป็นเอกสาร) จะต้องยื่นคำร้องขอเอกสาร โดยจะมีค่าใช้จ่าย
– Transcript : ผลคะแนนสอบ  15 USD + ค่าส่ง Fedex 47.50 USD
– ประกาศนียบัตร : ฟรี + ค่าส่ง Fedex 47.50 USD
– รวมประมาณ 110 USD

การขอสอบใหม่

เกณฑ์คะแนนการสอบ GED แต่ละวิชาต้องได้ 145 คะแนน (เต็ม 200 คะแนน) ถึงจะผ่านเกณฑ์ ซึ่งถ้าจะขอสอบใหม่ แบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ได้คะแนนไม่ถึง 145 คะแนน
– สามารถลงทะเบียนสอบใหม่ได้เลย ถ้าเป็นการสอบครั้งที่ 2 หรือ 3 ในแต่ละวิชา
– แต่ถ้าเป็นการขอสอบครั้งที่ 4 จะต้องเว้นระยะไม่น้อยกว่า 60 วัน
– ค่าสอบวิชาละ 75 USD

กรณีที่ได้คะแนน 145 คะแนนขึ้นไปแล้วแต่ต้องการสอบใหม่
หากต้องการสอบเพื่อให้ได้คะแนนมากกว่าเดิม จะต้องยื่นคำร้องผ่านทางอีเมลก่อน โดยใส่รายละเอียดชื่อ-นามสกุล-วันเดือนปีเกิด, อีเมลและเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้สมัคร, วิชาที่ต้องการสอบใหม่ พร้อมเหตุผล และวันที่ต้องการจะสอบใหม่ ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการทั้งหมด 1 – 2 สัปดาห์  ทั้งนี้การขอสอบใหม่นี้ จะทำได้แค่ทีละวิชาเท่านั้น โดยยื่นคำขอไปที่ help@ged.com หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  (BBA)
– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  (BBTech)
– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์  (BSAC)
– คณะวิศวกรรมศาสตร์  (ISE)
– คณะเศรษฐศาสตร์  (EBA)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์  (COMMDE)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม  (INDA)
– คณะอักษรศาสตร์  (BALAC)
– สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ (BAScii)

แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดทุกวิชาคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 660 คะแนน ยกเว้นคณะเศรษฐศาสตร์กำหนดไว้ 700 คะแนน โดยสามารถขอเทียบคะแนนได้ที่นี่ https://hsces.atc.chula.ac.th/

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

– คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  (BBA)
– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  (BBTech)
– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์  (BSAC)
– คณะวิศวกรรมศาสตร์  (ISE)
– คณะเศรษฐศาสตร์  (EBA)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์  (COMMDE)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม  (INDA)
– คณะอักษรศาสตร์  (BALAC)
– สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ (BAScii)

แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดทุกวิชาคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 660 คะแนน ยกเว้นคณะเศรษฐศาสตร์กำหนดไว้ 700 คะแนน โดยสามารถขอเทียบคะแนนได้ที่นี่ https://hsces.atc.chula.ac.th/

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC)

– คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ  (LL.B.)
– คณะพยาบาลศาสตร์  (BNS)
– คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  (BBA)
– คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อมวลชนศึกษา (B.J.M.)
– สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ (SIIT)
– คณะวิศวกรรมศาสตร์  (TEP, TEPE-Auto)
-คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาวิเทศคดีศึกษา อาเซียน-จีน (IAC)
-คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม  (GSSE)
– วิทยาลัยนวัตกรรม สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ  (BSI)
– คณะเศรษฐศาสตร์ (BE)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง (UDDI)
– คณะสังคมสงเคราะห์ สาขาวิชานโยบายสังคมและการพัฒนา  (SPD)
– วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์  (PBIC)

แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดคะแนนแต่ละวิชาละไม่น้อยกว่า 165 คะแนน และสาขาวิชาดังต่อไปนี้จะต้องมีคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 600 คะแนน

– คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ (BIR)
– คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (BEC)
– คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา  (BAS)
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี (DBTM)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

– คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด
– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ (B.A.-Integrated Tourism Management)
– คณะวิทยาศาสตร์
– คณะวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน (B.S.)
– คณะวิศวกรรมศาสตร์  (IUP)
– คณะเศรษฐศาสตร์ (B.A. & B.Econ)
– คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร

แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดคะแนนแต่ละวิชาละไม่น้อยกว่า 165 คะแนน

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

– คณะบริหารธุรกิจ  (BBA)
– คณะการจัดการ สาขาการจัดการบริการนานาชาติ (BM)
– คณะศิลปศาสตร์ (BA)
– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศ  (BFA)
– คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร  (B.Com.Arts.)
– คณะวิทยาศาสตร์  (B.Sc.)

แต่ละคณะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นสมัครแตกต่างกันออกไป เบื้องต้นทุกคณะกำหนดคะแนนรวม 4 วิชาไม่น้อยกว่า 600 คะแนน

การเทียบวุฒิ GED ในระบบ TCAS65
ทางทปอ. ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับปีการศึกษา 2565 ไว้ ซึ่งรายละเอียดการเทียบวุฒิ GED มีดังนี้

ผลสอบ GED (ก่อนเดือนพ.ค. 2560)
– 5 รายวิชา มีคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 2,250 คะแนน แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 410 คะแนน

ผลสอบ GED (เดือนพ.ค. 2560 เป็นต้นไป)
– 4 รายวิชา มีคะแนนแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน

สำหรับการยื่นสมัคร กสพท
– กสพท จะใช้วุฒิ GED สำหรับการเทียบคะแนน O-NET ของผู้ที่จบจากต่างประเทศ และไม่มีสิทธิสอบ O-NET โดยจะมีการพิจารณาการสมัครสอบเป็นกรณีๆ ไป
– แต่จะไม่อนุญาตให้ใช้วุฒิ GED สำหรับน้องๆ ที่เรียนอยู่ในหลักสูตรของประเทศไทย และยังไม่จบม.ปลายตามหลักสูตร

การยอมรับวุฒิ GED ในประเทศไทย

ปัจจุบันสามารถเทียบวุฒิ GED เพื่อสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดคะแนนขั้นต่ำในการยื่นแตกต่างกันออกไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การยอมรับวุฒิ GED ในต่างประเทศ

ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัย ในหลายประเทศที่เปิดรับสมัครนักเรียนนักศึกษาด้วยวุฒิ GED  โดยสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา ก็มีมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยกว่า 97% ที่เปิดรับ  รวมไปถึงประเทศอื่นๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, ไต้หวัน, เกาหลี, มาเลเซีย, เนปาล, บังกลาเทศ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ

สถานที่สอบ GED ในไทย

GED Testing Center

ข้อมูลการรับสมัคร

Admission information

การยื่น GED Thai

การยื่น GED Inter

GED FAQs

GED SIM